ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทที่ 1 : แสดงผลบนหน้าต่าง Console

หลังจากที่ได้ติดตั้ง Visual Studio ก่อนไปแล้ว บทนี้จะพาเขียนการแสดงบนหน้าต่าง Console กัน

หน้าต่าง Console

หน้าต่าง Console หรืออีกชื่อ Command Prompt คือ หน้าต่างสำหรับไว้สั่งงานหรือแสดงผลในโหมดตัวหนังสือ (text mode)
หน้าต่าง Console ใน Windows 10
ก่อนยุคที่มีโหมดของกราฟฟิคโหมด (GUI) การสั่งงานคอมพิวเตอร์จะต้องสั่งงานผ่านตัวอักษรเท่านั้น ไม่มีหน้าต่าง GUI ให้ใช้งาน ปัจจุบัน โหมดตัวหนังสือยังคงอยู่ในหน้าต่าง Console หรือ cmd

ข้อควรรู้
โหมดในการสั่งงานคอมพิวเตอร์มี 2 รูปแบบ คือ
  1. โหมดตัวหนังสือ (text mode) เป็นโหมดสำหรับสั่งงานผ่านคำสั่งที่พิมพ์ และแสดงผลออกเป็นตัวหนังสือ
  2. โหมดของกราฟฟิคโหมด (GUI) เป็นโหมดที่มีหน้าต่างการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว เป็นรูปร่างที่ง่ายต่อการใช้งาน

ทำไมเราจึงต้องเริ่มเรียนในโหมดตัวหนังสือ (text mode) ?

เพราะโหมดตัวหนังสือ (text mode) ใช้โค้ดคำสั่งในการเขียนง่ายกว่าเขียนแบบโหมดของกราฟฟิคโหมด (GUI)

แสดงผลบนหน้าต่าง Command Prompt  ด้วยภาษา C#

ในภาษา C# มี 2 คำสั่งสำหรับใช้แสดงผล
  1. Console.Write
  2. Console.WriteLine
มีการใช้งานที่คล้ายกัน แต่มีรายละเอียดที่ต่างกัน

Console.Write

คำสั่งสำหรับใช้แสดงผล โดยสามารถแสดงผลได้หลายบรรทัดในโค้ดเดียว
แสดงผลบรรทัดเดียว
ตัวอย่าง
แสดงข้อความ Hi CIS :D
ผลลัพธ์
Hi CIS :D
แสดงผลหลายบรรทัด
ในการแสดงผลหลายบรรทัด ให้ทำการใส่ \n เข้าไปใน "ข้อความ" บริเวณที่ต้องการขึ้นบรรทัดใหม่

ต้องการแสดงข้อความ
Hi CIS :D
How are you ?
Is you love C# ?

ตัวอย่าง
ผลลัพธ์
Hi CIS :D
How are you ?
Is you love C# ?


สรุป Console.Write สำหรับเอาไปใช้แสดงข้อความบนหน้าต่าง Console ทั้งแบบบรรทัดเดียวและหลายบรรทัดได้

Console.WriteLine

Console.WriteLine  เป็นคำสั่งสำหรับใช้แสดงผลทีละบรรทัดเท่านั้น ไม่สามารถใส่ \n เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ได้

ตัวอย่างเช่น
ผลลัพธ์
Hi CIS :D
How are you ?
Is you love C# ?
ถ้าใส่ \n เข้าไปจะเกิดอะไรขึ้น ?

ผลลัพธ์
Hi CIS :D
How are you ?
Is you love C# ?
ได้เหมือนกัน :D

เรียนรู้เพิ่มเติม

ความคิดเห็น